วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่  ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง

     ในสมัยพุทธกาลมีพุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธจำนวนมากที่มีบทบาทสำคัญใน๙านะเป็นกำลังช่วยเหลือพระพุทธเจ้าในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สำหรับในชั้นนี้จะได้ศึกษาประวัติของท่านเหล่านี้ ได้แก่ พระมหากัจจายนะ พระภัททากัจจานาเถรี และนางขุชชุตตรา  1. พระมหากัจจายนะ เป็นพุทธสาวกที่มีความรุ้แตกฉาน ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเลิศในการอธิบายหลักธรรมให้เข้าใจได้ง่าย และเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังสำคัญใน  อ่านต่อ

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 6 การบริหารจิตและเจริญปัญญา


    การบริหารจิต เป็นการฝึกฝนอบรมจิตใจให้ดีงาม นุ่มนวล มีความหนักแน่นมั่นคง แข็งแกร่ง ผ่อนคลาย และสงบสุข ซึ่งมีการฝึกเพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวมากมายหลายวิธี ส่วนการเจริญปัญญานั้น คือการฝึกให้รู้จักคิด อย่างที่เรียกว่า “คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น” นั่นเอง การบริหารจิต เป็นการฝึกจิตให้เป็นสมาธิ เรียกว่า สมาธิภาวนา ส่วนการเจริญปัญญาคือ การฝึกให้เกิดปัญญาที่เรียกว่า วิปัสสนาภาวนาคนที่ได้รับการฝึกฝนอบรมทั้งด้านสมาธิและวิปัสสนา จะเป็นคนมีคุณภาพจิต  อ่านต่อ...

บทที่ 5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต


     พระไตรปิฎก  พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย  พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท  อ่านต่อ

บทที่ 4 หลักธรรมทางศาสนา
    ความหมายของพระรัตนตรัย   คำว่า รัตนตรัย มาจากคำว่า รัตน แปลว่า แก้วหรือสิ่งประเสริฐ กับคำว่า ตรัย แปลว่า สาม ฉะนั้นพระรัตนตรัย แปลรวมกันว่า แก้วสามดวง หรือ สิ่งประเสริฐสามสิ่ง ที่พุทธศาสนิกชนเคารพนับถือสูงสุดสามสิ่งนับเป็นองค์ประกอบของศาสนาพุทธ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา 3 อย่างใน 6 อย่าง อันได้แก่  อ่านต่อ...

   บทที่ 3 วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา
    วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่จะยึดตามปฏิทินจันทรคติ เป็นวันที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพุทธประวัติ และเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับศาสนาพุทธ และ วันสำคัญทางศาสนาพุทธ ที่ชาวพุทธยึดถือปฏิบัติมายาวนาน มีดังนี้  1. วันมาฆบูชา  ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม  อ่านต่อ...

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558


บทที่ 2  พุทธประวัติ พระสาวก ศาสนิกชนตัวอย่างและชาดก

 
ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา     
1. ประวัติพระสารีบุตร    พระสารีบุตร เดิมชื่อ อุปติสสะ เป็นบุตรของวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อสารี บิดาเป็นนายบ้าน อุปติสสคาม ใกล้เมืองราชคฤห์ บิดามารดามีฐานะร่ำรวย เหตุที่ท่านได้ชื่อว่า สารีบุตร เนื่องจากเมื่อท่านบวชแล้วเพื่อนพระภิกษุด้วยกันมักเรียกท่านว่า สารีบุตร แปลว่า บุตรนางสารีตามชื่อมารดาของท่านอุปติสสะมีสหายคนหนึ่ง อ่านต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ประวัติและความสําคัญของพระพุทธศาสนา



  พระพุทธศาสนานอกจากจะเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยแล้วพระพุทธศาสนายังเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทยอีกด้วย จะเห็นได้จากวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา ความคิดและกิจกรรมทุกด้านของชาติไทยล้วนผสมผสานอยู่ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา    พระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมจิตชีวิตจิตใจและลักษณะนิสัยของคนไทย ให้เป็นผู้ที่มีจิตใจร่าเริงเบิกบาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แสดงความเป็นมิตร ยินดีในการให้แบ่งปันให้ความช่วยเหลือ เป็นคนมีน้ำใจ   อ่านต่อ